วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558

การเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์

บทที่ 3 

การเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์


การเลือกใช้เทคโนโลยี
     การเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเเละความเปลี่ยนเเปลงหรือผลที่จะเกิดขึ้นต่อชีวิต สังคม เเละสิ่งเเวดล้อม คือ

  1. การเลือกใช้เทคโนโลยีโดยคำนึงถึงชีวิต คือ การเลือกใช้โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสุขภาพร่างกายของผู้ใช้
  2. การเลือกใช้เทคโนโลยีโดยคำนึงถึงสังคม คือ การเลือกใช้โดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคม เช่น เศษฐกิจ วัฒนธรรม
  3. การเลือกใช้เทคโนโลยีโดยคำนึงถึงสิ่งเเวดล้อม คือ การเลือกใช้โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งเวดล้อมเเละมลภาวะต่างๆที่จะเกิดขึ้น
เครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.)
     มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก. หมายถึง เครื่องหมายเพื่อเเสดงความเป็นมาตรฐาน เช่น ครื่องใช้ไฟฟ้า พาหนะ สิ่งทอ วัสดุ โดยทั่วไปจะพบเครื่องหมายมอก. 2เเบบคือ

  1. มาตรฐานทั่วไป มีในสิ่งของทั่วไป เช่น สบู่ ยาสีฟัน 
  2. มาตรฐานบังคับ พบส่วนมากในเครื่งใช้ไฟฟ้า เช่น พัดลม หลอดฟลูออเรสเซนต์ ผงซักฟอก ถังดับเพลิง
ผลิตภัฑ์ที่เเสดงเครื่องหมาย  มอก.จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบเเละ               ได้การรับรอง จาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.). ว่ามี
คุณภาพได้มาตรฐาน
เลขสารบนอาหาร
     เลขสารบนอาหาร ออกโดย สำนักคณะกรรมการอาหารเเละยาเพื่อเป็นเลขประจำตัวผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วยเลข13หลักซึ้งตัวเลขจะมีความหมายของ    "สถานที่"เเละ"ผลิตภัณฑ์"
โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์อาหารที่เราพบเห็นอยู่ในท้องตลาดนั้น สามารถเเบ่งตามประเภทการขออนุญาตผลิตได้เป็น 2 กลุ่ม
     1.กลุ่มที่ผลิตได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากอย. อาหารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ไม่เเปรรูป หรือ ถ้าเเปรรูก็จะใช้กระบวนการผลิตง่ายๆในชุมชน ผู้บริโภคจะต้องนำมาปรุงหรือผ่านความร้อนก่อนบริโภค
  1. อาหารสดหรือเเห้งที่ผู้ผลิตผลตขึ้นเองเเล้วจำหน่ายกับผู้บริโภคโดยตรง
  2. อาหารสำเร็จรูปที่ผลิตเเล้วยังไม่ได้บรรจุใส่ภาชนะ
  3. กลุ่มอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ต้องนำไปปรุงให้สุกก่อน
  4. กลุ่มอาหารที่มีจุดมุ่งหมายเป็นเครื่องปรุง


       

2.กล่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตจากอย.เเบ่งเป็น2กลุ่มย่อย คือ
   1.ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องส่งตัวอย่างตรวจอย่างตรวจวิเคราะห์ เป็นกลุ่มอาหารพร้อมบริโภคซึ่งจะต้องขออนุญาตใช้ฉลากจาก อย.เเต่ไม่ต้องตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์ได้เเก่
  • กลุ่มอาหารจากพืช เช่น ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว น้ำจิ้ม
  • กลุ่มอาหารจากสัตว์ เช่น หมูหยอง หมึกปรุงรส ไข่เค็มสุก














2.กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องส่งตัวอย่างวิเคราะห์
ตามประกาศกระทรวงสาธารนสุข เเละต้องขออนุญาตใช้ฉลากอาหารเเบ่งเป็นกลุ่มๆดังนี้
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น น้ำมันพืช กาเเฟคั่วสด เครื่องดื่ม ซอส
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น  น้ำปลา น้ำบูดู นม เครื่องดื่มรังนก
  • กลุ่มอื่นๆ เช่น น้ำดื่ม น้ำเเร่ น้ำเเข็ง







 ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
       คือฉลากที่บ่งบอกระดับการใช้ไฟฟ้าเเละข้อมูลเบื้องต้นต่างๆ
ฉลากประหยัดไฟเบอร์5 ที่ปรากฎบนเครื่องปรับอากาศ นั้น หมายถึง ีอัตราการประหยัดพลังาน Energy Efficiency Ratio : EER มากกว่า 11.0 หน่วย
              Energy Efficiency Ratio : EER คือ ค่าประสิทธิพลังงานซึ่งคำนวณการนำค่าบีทียูมาหารด้วยจำนวนวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ฉลากเขียว
    คือ ฉลากที่ให้กับสินค้าที่มีคุณภาพโดยมีกระบวนการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อมน้อยกว่าสินค้าประเภทเดียวกัน


การจัดการเทคโนโลยี
     โดยการนำหลักการของเทคโนโลยีสะอาด Cleaner Technology:CT หรือการาผลิตที่สะอาดCleaner Prodction : CP   หรือ   การป้องกันมลพิษ                                      Pollution Prevention:P2 หรือการลดของเสียให้น้อยที่สุด Waste Minmization
เทคโนโลยีสะอาด
     เทคโนโลยีสะอาด Cleaner Technology:CT คือการพัฒนาเปลี่ยนเเปลงปรับปรุงกระบวนการผลิต การบริการเเละการบริโภคอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความเสี่ยงต่อมนุษย์เเละสิ่งเเวดล้อมน้อยที่สุด
หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
    หลักการของเทคโนโลยีสะอาด จะเน้นการป้องเเละลดมลพิษตั้งเเต่ต้นส่วนมลพิษหรือของเสียที่เกิดขึ้นจะพิจารณาว่าสามารถนำกลับมาใช้ใหม่
  •  Reduce

    การลดมลพิษที่เเหล่งกำเนิด เเบ่งได้เป็น 2 เเนวทาง คือ การเปลี่ยนเเปลง ผลิตภัณฑ์ เเละการเปลี่ยนเเปลงกระบวนการผลิต
  1. การเปลี่ยนเเปลงผลิตภัณฑ์ เป็นการออกเเบบผลิตภัณฑ์ให้มีผลกระทบต่อสภาพเเวดล้อมน้อยที่สุด โดยทำให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นลดการใช้สารเคมีอันตรายในการผลิต
  2. การเปลี่ยนเเปลงกระบวนการ เเบ่งได้เป็น 3 วิธี คือ การเปลี่ยนเเปลงวัตถุดิบ การเปลี่ยนเเปลงเทคโนโลยีเเละการปรับปรุงกระบวนการ เพื่อให้สะดวก รวดเร็วเเละเกิดของเสียหรือของเหลือใช้น้อยลง
    • การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ ทำได้โดยการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพหรือมความบริสทธิ์สูง รวมทั้งการลดหรือยกเลิกการใช้วัตถุดิบที่เป็นอันตราย
    • การเปลี่ยนเเปลงเทคโนโลยี ทำได้โดยการออกเเบบระบบการผลิตใหม่เพิ่มระบบอัตโนมัติเข้าไปในการผลิต
    • การปรับปรุงกระบวนการดำเนินการ ทำได้โดยปรับปรุงวิธีการผลิตเดิมโดยใช้เทคนิคการลด การรวม เเละการทำขั้นตอนการผลิตให้ง่ายขขึ้น
2.การใช้ซ้ำเเละการนำกลับมาใช้ การใช้ซ้ำเเละการนำกลับมาใช้ใหม่เเบ่งออกได้เป็น 2 เเนวทาง คือ
  • Reuse การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าซึ้งบางอย่างใช้ซ้ำได้อย่างหลายๆครั้ง
  • Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นการนำหรือเลือกใช้ทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือนำกลับมารีไซเคิล
พลังงานหมุนเวียน
  • พลังงานเเสงอาทิตย์ ประโยชน์จากเเสงอาทิตย์ทำได้หลายรูปเเบบ เช่น เตาเเสงอาทิตย์ โดยใช้พื้นผิวโลหะที่รองรับเเละสะสมพลังงานเเสงอาทิตย์ เเล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน
  • พลังงานลม การนำพลังงานลมไปใช้เป็นพลังงานทดเเทนเริ่มมีการใช้กันอย่างเเพร่หลาย โดยมีทั้งผลิตกระเเสไฟฟ้า
  • พลังงานน้ำ เเละมีปริมาณมากพอสามารถนำไปใช้ผลิตไฟฟ้าได้ เช่น ตามเขื่อนต่างๆโดยเมื่อปล่อยน้ำจากเหนือเขื่อนที่มีระดับสูงกว่าท้ายเขื่อนผ่านท่อไปหมุนกังหันของไดนาโม ทำให้สามารถเปลี่ยนพลังงานกลจากการหมุนเป็นพลังงานผลิตกระเเสไฟฟ้า
  • พลังงานชีวมวล พลังงานอีกอย่างหนึ่งที่ใกล้ตัวเรา เเต่ยังมีการนำมาใช้ประโยชน์น้อยอยู่
       นอกจากที่กล่าวมาเเล้ว ยังมีพลังงานหมุนเวียนรูปอื่นๆที่เราอาจไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก เช่น พลังงานคลื่น พลังงานน้ำขึ้น-น้ำลง พลังงานความร้อนใต้พิภพ รวมถึงเชื้อเพลิงไบโอดีเซลที่ได้มาจากการผลิตพืชน้ำมันเเละไขมันสัตว์ เป็นต้น